Forexnew.org

ศูนย์กลางข้อมูล,ข่าวสารตลาด Forex
พัฒนาองค์ความรู้ ก้าวสู่ระดับโลก

หน่วยงานจดทะเบียน Forex Regulation

หน่วยงานจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex สำคัญอย่างไร

Forex Regulation 2021

หน่วยงานจดทะเบียน (Forex Broker Regulation)

  • ทำหน้านี้ในการตรวจสอบกำกับดูแลโบรกเกอร์ เพื่อป้องกันการทุจริตและฉ้อโกง
  • ซึ่งแต่ละแห่งอาจมีข้อบังคับที่แตกต่างกัน

โดยทั่วไปจะมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้:

  1. การตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบบัญชี
  2. การตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
  3. การเก็บรักษาเงินทุนของลูกค้าที่ต้องแยกบัญชีต่างหากไม่ให้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย, ภาระหนี้สินของบริษัท
  4. การตรวจสอบมาตรฐานการบริการ และการตรวจสอบข้อร้องเรียน
  5. เงื่อนไขการชดเชยกรณีที่โบรกเกอร์ประสบปัญหาทางหนี้สินหรือล้มละลาย

Regulatory Tier-1

ตัวอย่างหน่วยงานที่มีความเข้มงวด และมาตรฐานสูง (Regulatory Tier-1)

  1. FCA สหราชอาณาจักร
  2. ASIC ออสเตรเลีย
  3. NFA สหรัฐอเมริกา

ข้อควรระวัง

โปรดทราบว่าโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ไม่สามารถที่จะก่อตั้ง, จดทะเบียนในประเทศไทยได้

  • สืบเนื่องจากข้อกฎหมายในประเทศ ยังไม่ได้อนุญาตให้สามารถก่อตั้งขึ้นได้ในราชอาณาจักร
  • ปัจจุบันการเทรด Forex จึงมีให้บริการเฉพาะกับโบรกเกอร์ในต่างประเทศเท่านั้น
  • โปรดทราบว่าการเทรดผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากหน่วยงานในประเทศ

FCA สหราชอาณาจักร

FCA คืออะไร

FCA คือองค์การกำกับทางการเงิน สหราชอาณาจักร

  • ชื่อเต็มคือ: Financial Conduct Authority, United Kingdom
  • ถือเป็นหนึ่งในองค์กรกำกับดูแล ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
  • ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท, โบรกเกอร์ และหน่วยงานทางการเงิน
  • FCA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีอากรสำหรับการดำเนินงาน
  • และ FCA ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) และ MiFID
  • ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์: https://www.fca.org.uk

สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกย่องระดับโลก ว่ามีระบบการกำกับดูแลที่ดีเยี่ยม

  • ในการป้องกันการทุจริตทางการเงิน
  • และะป้องกันการหลอกลวง, การฉ้อฉลในรูปแบบอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าปลีกและผู้ค้ารายย่อย

ข้อระเบียบเบื้องต้นของ FCA

  • โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
  • โบรกเกอร์ต้องเก็บเงินลูกค้า ไว้ในบัญชีที่แยกบัญชีออกจากบัญชีของบริษัท และไม่ใช้เงินของผู้ค้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
  • โบรกเกอร์ต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบประจำปี และงบการเงิน เพื่อยืนยันว่าข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ให้ไว้กับ FCA
  • มีการรับประกัน เงินชดเชยสูงถึง 50,000 ปอนด์ สำหรับลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
  • FCA เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ที่มีความเข้มงวดมาก ในการตรวจสอบ, ป้องกันการทุจริตของบริษัท
  • โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ FCA จึงต้องค่อนข้างมีความมั่นคง, สภาพคล่องที่สูง

ASIC ออสเตรเลีย

ASIC คืออะไร

ASIC คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน ประเทศออสเตรเลีย

  • ชื่อเต็มคือ: Australian Securities and Investments Commission
  • ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เก่าแก่ที่สุดในตลาด ซึ่งเริ่มต้นในปี 2532
  • ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า ASC (Australian Securities Commission) และเปลี่ยนเป็น ASIC ในปี 2541
  • ASIC เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ ต่อต้านการทุจริตทางการเงิน และต่อต้านการทุจริตในตลาดทุน
  • ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์: https://asic.gov.au

ข้อระเบียบเบื้องต้นของ ASIC

  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ
  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องแยกเก็บเงินของลูกค้าไว้ในธนาคารชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย

ASIC ไม่ได้จำกัด Leverage และรูปแบบการเทรดของ โบรกเกอร์

  • ระเบียบของ ASIC นั้นแตกต่างไปจาก FIFO
  • เนื่องจาก ASIC ไม่ได้จำกัดการเทรดในรูปแบบ Hedging และ Scalping
  • โบรกเกอร์ทั้งหมดที่จดทะเบียน ASIC จำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่รวดเร็ว, มีประสิทธิภาพสำหรับการซื้อขาย
  • และการซื้อขายควรเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่มีการแทรกแซง

NFA สหรัฐอเมริกา

NFA Forex Regulation

NFA หรือ National Futures Association เป็นหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา

  • ทำหน้าที่กำกับดูแลโบรกเกอร์, บริษัทนายหน้าที่ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ในตลาดอนุพันธ์ และรวมถึง Forex, ETFs
  • NFA ถือเป็นหน่วยงานที่มี "ความเข้มงวดสูงมาก"
  • เฉพาะโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ NFA เท่านั้น จึงจะมีสิทธิที่จะให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์กับลูกค้าในสหรัฐฯ
  • ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์: https://www.nfa.futures.org/

ข้อระเบียบเบื้องต้นของ NFA

  1. โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ NFA ต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
  2. โบรกเกอร์ต้องส่งรายงานให้ NFA ทุกสัปดาห์ และมีการ Audit ตรวจสอบรับรองทุกปี
CySEC ไซปรัส

CySec คืออะไร

CySEC คือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประเทศไซปรัส

  • ชื่อเต็มคือ: Cyprus Securities and Exchange Commission
  • CySEC เข้ามาในตลาดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2544
  • และประเทศไซปรัสนั้น ได้เข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2547
  • และต่อมารัฐธรรมนูญทั้งหมดรวมถึงกรอบการกำกับดูแลของ CySEC ได้รับการปรับปรุงใหม่
  • ตามหลักเกณฑ์ของสหภาพยุโรป, และไปตามมาตรฐาน EU และ MiFID
  • เพื่อการควบคุมที่เฉพาะเจาะจง และป้องกันการทุจริตทางการเงิน
  • ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์: https://www.cysec.gov.cy

ข้อระเบียบเบื้องต้นของ CySEC

  • โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร
  • และต้องส่งงบการเงินประจำปี
  • มีการรับประกันชดเชยเงินสูงสุด 20,000 ยูโรให้ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
  • ข้อมูลเพิ่มเติม ICF (Investor Compensation Fund)

การแจ้ง Complain, Report

หากท่านพบปัญหาในการใช้งานโบรกเกอร์ใดๆ โปรดลองติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่าย Support ของโบรกเกอร์ที่ท่านกำลังใช้งานอยู่ก่อน เขาสามารถช่วยแก้ไขปัญหา ช่วยอำนายความสะดวกให้ท่านได้, เพราะอาจเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และไม่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง

ตัวอย่างปัญหาทั่วไปที่พบบ่อย และไม่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง:

  1. ถอนเงินแล้วเกิดความล่าช้า เพราะตรงกับช่วงวันหยุดเสาร์/อาทิตย์ โบรกเกอร์บางแห่งต้องรอวันจันทร์จึงจะทำรายการได้
  2. ถอนเงินไม่ได้ เพราะบัญชีเทรดยังไม่ได้ส่งเอกสารยืนยันตัวตน (KYC)
  3. การกรอกข้อมูลผิด ส่งผลให้ทำรายการไม่สำเร็จ

*สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั่วไป โปรดติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของโบรกเกอร์ที่ใช้งานอยู่ เขาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ท่านได้


*แต่หากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง

  • ท่านอาจพิจารณาส่งเรื่อง Report ไปยัง Regulation (หน่วยงานที่กำกับดูแลโบรกเกอร์นั้น)
  • เพราะวิธีนี้เป็นการแจ้ง Complain อย่างตรงจุด กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลอยู่โดยตรง
  • ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับการติดตามเรื่องสูง, หรือการชดเชยความเสียที่เกิดขึ้นถ้ามี

ขั้นตอนการแจ้งเรื่องไปยัง Regulation

  1. ตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ท่านกำลังใช้งานอยู่ภายใต้ Regulation หน่วยงานกำกับดูแลที่ใด
  2. รวบรวมหลักฐาน และพิจารณาส่งเรื่องไปยัง Regulation ดังกล่าว

ช่องทางการแจ้ง Report ของ Regulation ต่างๆ

  • FCA, United Kingdom: https://www.fca.org.uk/consumers/report-scam-us
  • ASIC, Australia: https://asic.gov.au/about-asic/contact-us/
  • NFA, National Futures Association: https://www.nfa.futures.org/complaintnet/complaint.aspx
  • CySEC, Cyprus: https://www.cysec.gov.cy/en-GB/cysec/contact/
  • Financial Services Commission of Belize (FSC, Belize): [email protected]
  • Financial Services Commission (FSC, Mauritius): https://www.fscmauritius.org/en/others/contact-us
  • Financial Services Authority Seychelles (FSA, Seychelles): https://fsaseychelles.sc/complaint-handling
  • British Virgin Islands Financial Services Commission (FSC, BVI): https://www.bvifsc.vg/contact-us-0

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง


Share this content.
Back to Top