ภาพรวมของ USDJPY
- ราคาของ USDJPY ได้ปรับตัวต่ำลงมากว่า 3,000 จุด
- ก่อนที่จะปรับตัวสูงขึ้นไปอีกครั้งกว่า 7,000 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว
- ซึ่งได้ส่งผลให้ระดับของราคา ขึ้นมาอยู่ในกรอบ R1 – S1 อีกครั้ง
แนวโน้มสัปดาห์นี้ : 16 มี.ค. – 23 มี.ค. 2020
- สืบเนื่องจากการปรับฐานของราคาที่สูงขึ้นมากว่า 7,000 จุดในสัปดาห์ที่แล้ว
- ถือเป็น Volume ที่สูงมาก และอาจส่งผลให้ USDJPY เข้าสู่สภาวะ Overbought
- จึงคาดการณ์ว่า : ราคาอาจเกิดการพักตัวชั่วขณะหนึ่ง เพื่อรอสะสมแรง
- จนกว่าจะถึง การประกาศอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ ในวันพฤหัสบดีนี้
- ซึ่งจะส่งอิทธิพลต่อราคาของ USDJPY อย่างมีนัยสำคัญ
Support & Resistance
- แนวต้าน 2 : (110.578)
- แนวต้าน 1 : (109.283) Fibonacci 61.8%
- แนวรับ 1 : (107.448) Fibonacci 38.2%
- แนวรับ 2 : (106.273) Fibonacci 23.6%
- แนวรับ 3 : (104.463)
ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 17 มี.ค. 2020
- รายงานดัชนียอดขายปลีกสหรัฐฯ (Retail Sales)
- ตัวเลขคาดการณ์ (Forecast) : 0.2%
- ประกาศตัวเลขจริง (Actual) : 19:30 น.
วันพฤหัสบดีที่ 19 มี.ค. 2020
- การปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)
- ตัวเลขคาดการณ์ (Forecast) : <0.75%
- ประกาศตัวเลขจริง (Actual) : 1:00 น.
ข้อมูลเบื้องต้น
- หากตัวเลข Actual > Forecast : USDJPY จะมีแนวโน้ม ปรับตัวสูงขึ้น
- หากตัวเลข Actual < Forecast : USDJPY จะมีแนวโน้ม ปรับตัวต่ำลง
ติดตามการประกาศตัวเลข Real-Time ได้จาก Forexfactory.com
เทคนิคการอ่านข่าว Forex Factory
การประชุมกลุ่ม G7
สัปดาห์นี้จะมีการประชุมผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรม (G7 Meetings)
วันจันทร์ที่ 16 มี.ค. 2020
การประชุมดังกล่าวมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และส่งผลต่อ US Dollar
- G7 เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ประกอบด้วย 7 ประเทศสมาชิก
- ได้แก่: แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
- ซึ่งเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้รวมกัน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของโลก
- G7 เป็นองค์กรที่มีอิทธิพล ต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระดับโลก
- ความคิดเห็นและการกำหนดนโยบายทางการเงิน สามารถสร้างความผันผวนที่สูงต่อตลาด Forex ได้อย่างมีนัยสำคัญ
Share this content.